User Name :
Password :
 
ลืมรหัสผ่าน? / สมัครสมาชิก!!!
เมนูหลัก
แบบฟอร์มรายงานต่างๆ
แบบรายงาน SP Truama
แบบรายงาน 19 สาเหตุ
งานยาเสพติด
2 V29 ส่วนที่ 2 การคัดกรองและบำบัดของสาธารณสุข
1 V29 ส่วนที่ 1 ระบบข้อมูลการบำบัดฯ ของอำเภอ
5 คู่มือสมาชิกค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
คู่มือมาตรฐานค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
จัดสรรงบยาเสพติด งวดที่ 2 ปี 62
ทั้งหมด
งานสุขภาพจิต
แบบรายงาน MCATT
เอกสารประกอบการซ้อมแผน MCATT
กลยุทธ์ในการดำเนินการวัยรุ่นและบริการให้คำปรึกษา
ดาวน์โหลดเอกสารงานยาเสพติด และสุขภาพจิต
งานนำเสนอ Template ยาเสพติด
Template ยาเสพติด 62
งานอุบัติเหตุและระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
แบบประเมินระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉินชองโรงพยาบาล
แบบสรุปรายงานผลประเมินระบบรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล
แนวทางการตรวจราชการปี 61
แบบรายงาน ECS เขต
การบันทึกข้อมูลปฏิบัติการแบบใหม่
ทั้งหมด
ดาวน์โหลดเอกสารการต่ออายุบัตร EMR ,EMT,AEMT
แบบยื่นคำขอต่ออายุใบประกาศ/บัตร
แบบฟอร์มการรับรองคุณสมบัติของผู้ยื่นต่ออายุ
แบบฟอร์มแสดงผลการปฏิบัติการฉุกเฉิน AEMT
แบบฟอร์มการปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล (EMR)
แบบฟอร์มการปฏิบัติการฉุกเฉินในโรงพยาบาล (EMR)
ทั้งหมด
งานเฝ้าระวังเด็กจมน้ำ
เกณฑ์ประเมินผู้ก่อการดี
รายงานสอบสวนเจมน้ำทุกกรณี
สรปเกณฑ์ประเมิน ประเมินตนเอง
แนวทางสำหรับผู้ขอรับรองเป็นผู้ก่อการดี
แบบประเมินตนเองผู้ก่อการดี
งานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD
รายงาน STEMI ปี 2563
HDC_NCD2019
แนวทางการดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงและจัดการควบคุมความเสี่ยง เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ เบาหวาน ความดัน
คู่มือบริหารจัดการงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง SI3M
แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ทั้งหมด
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD
NCD KPI Monitor
ตัวชี้วัด_62
ข้อมูล HDC_NCD2019
สถานการ NCD 61
ชี้แจง KPI Template MOU
ทั้งหมด
งานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ
แนวทางสู่ความสำเร็จในการควบคุมยาสูบ
มาตรการเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่
แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ
เด็กไทยคิดอย่างไร..............กับการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
แผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์นโยบาบแอลกอฮอล์ระดับชาติ
ทั้งหมด
โรคต้อกระจก (Cataract)
แบบบันทึกการตรวจคัดกรองต้อกระจก
แนวทางการส่งต่อผู้ป่วยต้อกระจกเพื่อรับการผ่าตัด
แนวทางปฏิบัติการคัดกรองสายตาผู้สูงอายุ
แนวทางการวัด VA
สาขาไต
โครงการลดเค็ม อยุธยา
โปรแกรมคำนวณสารอาหาร
อาหารผู้ป่วย HD PD
ประเมินภาวะโภชนาการ_CKD_clinic
ชะลอไตเสี่อม
ทั้งหมด
โรคมะเร็ง
แนวทางการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test
แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรงมะเร็งรังไข่
แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี
ความรู้เรื่องมะเร็ง (เนื้อหาใช้อบรมวันที่ ๒๕ พ.ค. ๕๙)
แนวทางการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
ทั้งหมด
คู่มือ ดาวน์โหลด NCD หลักสูตรการสร้างแรงจูงใจ
Module 5_แนวทางการออกกำลังเฉพาะโรค หาดใหญ่.pdf
Module 4_OARS.pdf
Module 05_Ntr DM HTN CKD finalอ.ชนิดา.pdf
Module 4_MI.pdf
Module 3_SDT&TTM.pdf
ทั้งหมด
เอกสารประกอบ โครงการ HbpM
เอกสาร NCD Clinic Plus
ชี้แจ้งโครงการ HbpM
เอกสารนำเสนอ
ประเด็นข่าวเด็ด / เกร็ดความรู้ > เตือนอันตรายจากไฟดูด-ไฟช็อต ช่วงหน้าฝน
 
เตือนอันตรายจากไฟดูด-ไฟช็อต ช่วงหน้าฝน

 

สพฉ.เตือนอันตรายจากไฟดูด-ไฟช็อต ช่วงหน้าฝน เผยหากพบผู้ป่วยรีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 ชี้การช่วยเหลือที่เร็วและถูกวิธีจะเพิ่มโอกาสรอด “หน่วยกู้ชีพ” แนะต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวน ไม่นำกระแสไฟฟ้าช่วยผู้ป่วยให้หลุดจากกระแสไฟ้โดยเร็ว ย้ำหากหยุดหายใจต้องรีบช่วยฟื้นคืนชีพ

 

                ในช่วงฤดูฝนเช่นนี้ นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายให้ปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆ แล้ว ยังอาจมีปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินซึ่งต้องระมัดระวังกันด้วย อาทิ อันตรายจากไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าดูด เนื่องจากละอองฝนอาจกระเด็นไปโดนปลั๊กไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าจนอาจส่งผลให้เกิดไฟฟ้าช็อตหรือไฟฟ้าลัดวงจรได้

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)  กล่าวว่า อาการของคนที่โดนกระแสไฟฟ้าดูด กระแสไฟจะไหลผ่านหัวใจทำให้หัวใจหยุดทำงาน และอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆ ที่เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้า เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะในช่องท้อง และระบบประสาท ซึ่งหากกระแสไฟฟ้ามีแรงสูงมากๆ จะส่งผลให้เนื้อเยื่อที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านถูกทำลายอย่างรุนแรง และจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้องได้ บางคนอาจมีอาหารชักเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย หายใจเร็วและหมดสติ  ทั้งนี้หากเราพบเห็นผู้ถูกไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช็อตในระหว่างการเข้าให้การช่วยเหลือหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นจะต้องรีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อเข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอย่างถูกวิธี เพราะผู้ป่วยจะได้รับอันตรายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถูกไฟฟ้าดูด และการช่วยเหลือที่ทันกาลและถูกวิธีจะเพิ่มโอกาสรอดให้กับผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย

ขณะที่นายผดุงเกียรติ คุ้มมะม่วง  เจ้าหน้าที่อาสาฉุกเฉินการแพทย์ (FR) องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา แนะนำวิธีการเข้าช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูดว่า  จะต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้เร็วที่สุด แต่ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายจะต้องทำด้วยความระมัดระวังด้วยเพราะผู้ป่วยอาจได้รับบาดเจ็บในบริเวณอื่นด้วย เช่น ตกจากที่สูง นอกจากนี้การช่วยเหลือจะต้องป้องกันตนเองไม่ให้ถูกไฟดูดหรือเป็นผู้ประสบเหตุเองด้วย โดยต้องรีบหาแหล่งที่เกิดไฟฟ้ารั่วและหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินถูกกระแสไฟฟ้าดูดและมีสายไฟผ่านตัวผู้ป่วยอยู่ จะต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวน ไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น ไม้ เชือกที่แห้ง สายยาง ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนา จากนั้นผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบเหตุให้หลุดออกมาโดยเร็ว หรือเขี่ยออกจากตัวผู้ประสบอันตรายออกจากกระแสไฟ แต่ทั้งนี้หากเป็นกระแสไฟฟ้าแรงสูงควรแจ้งการไฟฟ้าโดยเร็วที่สุดเพื่อให้ตัดกระแสไฟฟ้า รวมถึงโทรแจ้งหน่วยกู้ชีพที่สายด่วน 1669

นอกจากนี้หากผู้ถูกไฟดูดโดดดูดในบริเวณที่มีน้ำขัง ผู้ช่วยเหลือไม่ควรลงไปในน้ำเด็ดขาดจะต้องตัดกระแสไฟฟ้าก่อนเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งการเข้าไปช่วยเหลือจะต้องทำด้วยความรวดเร็ว รอบคอบ และระมัดระวัง จากนั้นห่อหุ้มบริเวณที่ถูกไฟดูดด้วยผ้าแห้ง และหากมีบาดแผลบริเวณนั้นหรือไม่แน่ใจว่ามีการบาดเจ็บของผิวหนังและเนื้อเยื่อของร่างกายบริเวณที่ถูกสัมผัสหรือไม่ จะต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที อย่างไรก็ตามสำหรับการปฐมพยาบาลหากพบว่าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หัวใจหยุดเต้น จะต้องรีบทำรีบทำการฟื้นคืนชีพทันที