User Name :
Password :
 
ลืมรหัสผ่าน? / สมัครสมาชิก!!!
เมนูหลัก
แบบฟอร์มรายงานต่างๆ
แบบรายงาน SP Truama
แบบรายงาน 19 สาเหตุ
งานยาเสพติด
2 V29 ส่วนที่ 2 การคัดกรองและบำบัดของสาธารณสุข
1 V29 ส่วนที่ 1 ระบบข้อมูลการบำบัดฯ ของอำเภอ
5 คู่มือสมาชิกค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
คู่มือมาตรฐานค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
จัดสรรงบยาเสพติด งวดที่ 2 ปี 62
ทั้งหมด
งานสุขภาพจิต
แบบรายงาน MCATT
เอกสารประกอบการซ้อมแผน MCATT
กลยุทธ์ในการดำเนินการวัยรุ่นและบริการให้คำปรึกษา
ดาวน์โหลดเอกสารงานยาเสพติด และสุขภาพจิต
งานนำเสนอ Template ยาเสพติด
Template ยาเสพติด 62
งานอุบัติเหตุและระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
แบบประเมินระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉินชองโรงพยาบาล
แบบสรุปรายงานผลประเมินระบบรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล
แนวทางการตรวจราชการปี 61
แบบรายงาน ECS เขต
การบันทึกข้อมูลปฏิบัติการแบบใหม่
ทั้งหมด
ดาวน์โหลดเอกสารการต่ออายุบัตร EMR ,EMT,AEMT
แบบยื่นคำขอต่ออายุใบประกาศ/บัตร
แบบฟอร์มการรับรองคุณสมบัติของผู้ยื่นต่ออายุ
แบบฟอร์มแสดงผลการปฏิบัติการฉุกเฉิน AEMT
แบบฟอร์มการปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล (EMR)
แบบฟอร์มการปฏิบัติการฉุกเฉินในโรงพยาบาล (EMR)
ทั้งหมด
งานเฝ้าระวังเด็กจมน้ำ
เกณฑ์ประเมินผู้ก่อการดี
รายงานสอบสวนเจมน้ำทุกกรณี
สรปเกณฑ์ประเมิน ประเมินตนเอง
แนวทางสำหรับผู้ขอรับรองเป็นผู้ก่อการดี
แบบประเมินตนเองผู้ก่อการดี
งานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD
รายงาน STEMI ปี 2563
HDC_NCD2019
แนวทางการดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงและจัดการควบคุมความเสี่ยง เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ เบาหวาน ความดัน
คู่มือบริหารจัดการงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง SI3M
แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ทั้งหมด
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD
NCD KPI Monitor
ตัวชี้วัด_62
ข้อมูล HDC_NCD2019
สถานการ NCD 61
ชี้แจง KPI Template MOU
ทั้งหมด
งานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ
แนวทางสู่ความสำเร็จในการควบคุมยาสูบ
มาตรการเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่
แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ
เด็กไทยคิดอย่างไร..............กับการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
แผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์นโยบาบแอลกอฮอล์ระดับชาติ
ทั้งหมด
โรคต้อกระจก (Cataract)
แบบบันทึกการตรวจคัดกรองต้อกระจก
แนวทางการส่งต่อผู้ป่วยต้อกระจกเพื่อรับการผ่าตัด
แนวทางปฏิบัติการคัดกรองสายตาผู้สูงอายุ
แนวทางการวัด VA
สาขาไต
โครงการลดเค็ม อยุธยา
โปรแกรมคำนวณสารอาหาร
อาหารผู้ป่วย HD PD
ประเมินภาวะโภชนาการ_CKD_clinic
ชะลอไตเสี่อม
ทั้งหมด
โรคมะเร็ง
แนวทางการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test
แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรงมะเร็งรังไข่
แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี
ความรู้เรื่องมะเร็ง (เนื้อหาใช้อบรมวันที่ ๒๕ พ.ค. ๕๙)
แนวทางการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
ทั้งหมด
คู่มือ ดาวน์โหลด NCD หลักสูตรการสร้างแรงจูงใจ
Module 5_แนวทางการออกกำลังเฉพาะโรค หาดใหญ่.pdf
Module 4_OARS.pdf
Module 05_Ntr DM HTN CKD finalอ.ชนิดา.pdf
Module 4_MI.pdf
Module 3_SDT&TTM.pdf
ทั้งหมด
เอกสารประกอบ โครงการ HbpM
เอกสาร NCD Clinic Plus
ชี้แจ้งโครงการ HbpM
เอกสารนำเสนอ
ประเด็นข่าวเด็ด / เกร็ดความรู้ > แนะ 6 วิธีปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงเป็น "โรคความดันโลหิตสูง"
 
แนะ 6 วิธีปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงเป็น "โรคความดันโลหิตสูง"

โรคความดันโลหิตสูง จัดเป็นภัยซ่อนเร้นที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ตามมามากมาย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไตวาย และโรคอัมพาต ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีอาการจนกว่าจะเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ 

การตรวจวัดความดันสม่ำเสมอจะช่วยวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก และการควบคุมความดันโลหิตให้ได้ถึงเกณฑ์ปกติตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยจะช่วยให้ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ด้วย 

นอกจากนี้การปรับพฤติกรรมความเคยชินบางอย่างในชีวิตประจำวันก็เป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน 
 


ทั้งนี้ความดันโลหิตสูง หมายถึง แรงดันของเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด ซึ่งจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นกับแรงบีบตัวของหัวใจของแต่ละคน ค่าความดันโลหิตที่วัดจากเครื่องวัดความดันจะมี 2 ค่า คือ ความดันโลหิตตัวบน คือ แรงดันขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตตัวล่าง คือ แรงดันหัวใจขณะคลายตัว 

สำหรับค่าความดันโลหิตที่ปกติคือความดันโลหิตตัวบน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 120 มม.ปรอท และความดันโลหิตตัวล่างน้อยกว่าหรือเท่ากับ 80 มม.ปรอท 

แต่ถ้าวัดความดันโลหิตตัวบนได้มากกว่า 120 มม.ปรอท แต่ไม่เกิน 139 มม.ปรอท และ/หรือความดันโลหิตตัวล่างมากกว่า 80 มม.ปรอท แต่ไม่เกิน 89 มม.ปรอท จะเรียกว่าเป็นภาวะก่อนเกิดความดันโลหิตสูง 

ถ้าวัดความดันโลหิตตัวบนได้มากกว่า 140 มม.ปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันโลหิตตัวล่างมากกว่า 90 มม.ปรอท จะเรียกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง 

 ส่วนใหญ่ความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยบังเอิญขณะไปตรวจรักษาโรคอย่างอื่น แต่ผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตสูงมากๆ มักมีอาการปวดทั่วศีรษะ ปวดที่ท้ายทอย หรือวิงเวียนศีรษะร่วมด้วยได้ และผู้ป่วยบางส่วนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงนานๆ อาจมาด้วยภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงได้ เช่น อาการหัวใจวายเฉียบพลัน, ไตวาย, เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ 

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่เริ่มเป็นหรือระดับความดันโลหิตยังสูงไม่มาก จะเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ความดันโลหิตกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ (ความดันโลหิตไม่เกิน 140/90 มม.ปรอท) โดยไม่ต้องอาศัยการรับประทานยา นอกจากนี้ยังมีหลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความดันโลหิตสูงง่ายๆ 

1.ลดน้ำหนัก: ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่น้ำหนักเกิน หรืออ้วน การลดน้ำหนักลงจะได้ประโยชน์ในการลดความดันโลหิตมาก การลดน้ำหนักลง 10 กก. จะลดความดันโลหิตได้ 5-20 มม.ปรอท ความจริงแล้วผลดีอื่นๆ ที่ได้จากการลดน้ำหนักมีมากกว่าการลดความดันโลหิต เช่น ป้องกันการเกิดเบาหวาน ภาวะหัวใจล้มเหลว ข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น ควรควบคุมไม่ให้ดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 24 กก./ตร.ม. (ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กก.)/ส่วนสูง (เมตร)2) 

2.หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม: เมื่อได้รับ "เกลือ" หรืออาหารรสเค็มต่างๆ ร่างกายจะดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น เป็นผลให้ปริมาณสารน้ำในร่างกายสูงขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้นและควบคุมได้ยาก ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม โดยไม่เติมเกลือ น้ำปลา หรือซีอิ๊วในอาหารอีก นอกจากนั้นควรงดผงชูรสหรืออาหารที่มีผงชูรสอยู่มากด้วย เนื่องจากผงชูรสมีเกลือโซเดียมเช่นกัน ไม่แนะนำให้ใช้เกลือเทียม เช่น เกลือโพแทสเซียมแทนเกลือแกง เนื่องจากอาจเป็นอันตรายได้ในผู้ป่วยที่มีไตเสื่อม อาหารที่แนะนำนอกจากจะไม่เค็มแล้วควรจะเป็นอาหารที่พลังงานต่ำ และมีไขมันจากสัตว์น้อย เพิ่มการรับประทานปลาแทนเนื้อหรือหมู และหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงต่างๆ ขนมหวาน เน้นผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัดแทน 
  
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็วๆ วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน ครั้งละ 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากจะช่วยลดความดันโลหิตลงบ้างแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ควบคุมน้ำหนักได้ง่าย ไขมันคอเรสเตอรอลชนิดดีเพิ่มขึ้น จิตใจแจ่มใส สำหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมาก หรือผู้สูงอายุ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย หากท่านไม่สามารถจัดเวลาเพื่อออกกำลังกายได้ แนะนำให้ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ท่านทำอยู่แล้วแทน เช่น ใช้การเดินขึ้นบันไดแทนลิฟต์ เดินไปตลาดหรือทำงานบ้านด้วยตนเอง 

4.งดบุหรี่: การสูบบุหรี่มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วขณะ แม้ว่าการเลิกบุหรี่อาจไม่มีผลลดความดันโลหิตในระยะยาว แต่ไม่สูบบุหรี่จะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคหัวใจ ถุงลมโป่งพอง มะเร็งอีกหลายชนิด และยังเป็นผลดีต่อสุขภาพของคนใกล้ชิดอีกด้วย 

5.ลดแอลกอฮอล์: แม้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยๆ อาจช่วยเพิ่มไขมันคอเรสเตอรอลชนิดดีได้บ้าง แต่ไม่แนะนำให้ดื่ม เนื่องจากผลเสียของการดื่มแอลกอฮอล์มีมากกว่าผลดีมาก อย่าเชื่อโฆษณาที่แนะนำให้ดื่มไวน์เพื่อสุขภาพ หากท่านดื่มอยู่แล้วก็ควรจำกัดปริมาณให้น้อยกว่าวันละ 2 แก้ว 

 6.ลดความเครียด: เราไม่ควรเคร่งเครียดตลอดเวลา เพราะความเครียดถือเป็นอีกหนึ่งตัวเร่งที่ทำให้ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้นได้ ยิ่งในภาวะอากาศร้อนเช่นปัจจุบันอาจเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้หลายๆ คนเกิดความเครียด หงุดหงิด แนะนำให้ปล่อยวาง หากิจกรรม หางานอดิเรกที่เราชอบทำ เล่นกีฬา หรือทำสมาธิ พยายามควบคุมอารมณ์ให้เป็นปกติ 

ขอบคุณข้อมูลจาก  นพ.มงคล จิรสถาพร อายุรแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพค่ะ