User Name :
Password :
 
ลืมรหัสผ่าน? / สมัครสมาชิก!!!
เมนูหลัก
แบบฟอร์มรายงานต่างๆ
แบบรายงาน SP Truama
แบบรายงาน 19 สาเหตุ
งานยาเสพติด
2 V29 ส่วนที่ 2 การคัดกรองและบำบัดของสาธารณสุข
1 V29 ส่วนที่ 1 ระบบข้อมูลการบำบัดฯ ของอำเภอ
5 คู่มือสมาชิกค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
คู่มือมาตรฐานค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
จัดสรรงบยาเสพติด งวดที่ 2 ปี 62
ทั้งหมด
งานสุขภาพจิต
แบบรายงาน MCATT
เอกสารประกอบการซ้อมแผน MCATT
กลยุทธ์ในการดำเนินการวัยรุ่นและบริการให้คำปรึกษา
ดาวน์โหลดเอกสารงานยาเสพติด และสุขภาพจิต
งานนำเสนอ Template ยาเสพติด
Template ยาเสพติด 62
งานอุบัติเหตุและระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
แบบประเมินระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉินชองโรงพยาบาล
แบบสรุปรายงานผลประเมินระบบรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล
แนวทางการตรวจราชการปี 61
แบบรายงาน ECS เขต
การบันทึกข้อมูลปฏิบัติการแบบใหม่
ทั้งหมด
ดาวน์โหลดเอกสารการต่ออายุบัตร EMR ,EMT,AEMT
แบบยื่นคำขอต่ออายุใบประกาศ/บัตร
แบบฟอร์มการรับรองคุณสมบัติของผู้ยื่นต่ออายุ
แบบฟอร์มแสดงผลการปฏิบัติการฉุกเฉิน AEMT
แบบฟอร์มการปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล (EMR)
แบบฟอร์มการปฏิบัติการฉุกเฉินในโรงพยาบาล (EMR)
ทั้งหมด
งานเฝ้าระวังเด็กจมน้ำ
เกณฑ์ประเมินผู้ก่อการดี
รายงานสอบสวนเจมน้ำทุกกรณี
สรปเกณฑ์ประเมิน ประเมินตนเอง
แนวทางสำหรับผู้ขอรับรองเป็นผู้ก่อการดี
แบบประเมินตนเองผู้ก่อการดี
งานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD
รายงาน STEMI ปี 2563
HDC_NCD2019
แนวทางการดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงและจัดการควบคุมความเสี่ยง เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ เบาหวาน ความดัน
คู่มือบริหารจัดการงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง SI3M
แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ทั้งหมด
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD
NCD KPI Monitor
ตัวชี้วัด_62
ข้อมูล HDC_NCD2019
สถานการ NCD 61
ชี้แจง KPI Template MOU
ทั้งหมด
งานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ
แนวทางสู่ความสำเร็จในการควบคุมยาสูบ
มาตรการเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่
แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ
เด็กไทยคิดอย่างไร..............กับการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
แผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์นโยบาบแอลกอฮอล์ระดับชาติ
ทั้งหมด
โรคต้อกระจก (Cataract)
แบบบันทึกการตรวจคัดกรองต้อกระจก
แนวทางการส่งต่อผู้ป่วยต้อกระจกเพื่อรับการผ่าตัด
แนวทางปฏิบัติการคัดกรองสายตาผู้สูงอายุ
แนวทางการวัด VA
สาขาไต
โครงการลดเค็ม อยุธยา
โปรแกรมคำนวณสารอาหาร
อาหารผู้ป่วย HD PD
ประเมินภาวะโภชนาการ_CKD_clinic
ชะลอไตเสี่อม
ทั้งหมด
โรคมะเร็ง
แนวทางการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test
แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรงมะเร็งรังไข่
แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี
ความรู้เรื่องมะเร็ง (เนื้อหาใช้อบรมวันที่ ๒๕ พ.ค. ๕๙)
แนวทางการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
ทั้งหมด
คู่มือ ดาวน์โหลด NCD หลักสูตรการสร้างแรงจูงใจ
Module 5_แนวทางการออกกำลังเฉพาะโรค หาดใหญ่.pdf
Module 4_OARS.pdf
Module 05_Ntr DM HTN CKD finalอ.ชนิดา.pdf
Module 4_MI.pdf
Module 3_SDT&TTM.pdf
ทั้งหมด
เอกสารประกอบ โครงการ HbpM
เอกสาร NCD Clinic Plus
ชี้แจ้งโครงการ HbpM
เอกสารนำเสนอ
ประเด็นข่าวเด็ด / เกร็ดความรู้ > ประโยชน์ของวิตามินซี คุณค่าที่ต้องการ แต่ถูกมองข้าม
 

ประโยชน์ของวิตามินซี คุณค่าที่ต้องการ แต่ถูกมองข้าม

วิตามินซี เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้

ประโยชน์ ของ วิตามินซี

  • วิตามินซีเป็นตัวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือด
  • ช่วยให้แผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น
  • ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเม็ดเลือดทางอ้อม
  • ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (Mutation)
  • ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนอนหลับตายในกรณีเด็กอ่อน (SIDS: Sudden Infant Death Syndrome)
  • ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน หากรับประทาน วิตามินซี เป็นประจำทุกวัน มันจะช่วยให้เหงือกมีสุขภาพแข็งแรง โดย วิตามินซี จะไปช่วยรักษาเซลที่ถูกทำลายและช่วยให้แผลที่เหงือกหายเร็ว
  • เพิ่มความต้านทานต่อ โรคหัวใจ โดยการไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระดับ คลอเรสเตอรอล ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับประทานร่วมกับ วิตามินอี โดยมันจะไปลดการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด
  • ช่วยป้องกันอาการไมเกรน เมื่อรับประทานร่วมกับ pantothenic acid โดย วิตามินซี จะไปช่วยร่างกายในการต่อสู้กับความเครียดได้ดีขึ้น
  • การรักษาด้วยการฉีดวิตามินซีปริมาณสูง ในผู้ป่วยมะเร็ง อาจช่วยหยุดยั้งโรคมะเร็งได้ เนื่องจากวิตามินจะเข้าทำปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ มะเร็ง ให้กลายเป็นกรดขึ้น ทำให้เนื้อร้ายชะงักและน้ำหนักลดไปได้
  • ช่วยเรื่องความจำ โดย วิตามินซี จะไปช่วยรักษาสภาพของเซลประสาทและจะได้ผลดียิ่งขึ้นหากรับประทานร่วมกับอาหารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน กิงโกะไบโลบ้า และโคเอนไซม์ Q10
  • บรรเทาอาการแพ้ หอบหืด ไซนัส ทั้งนี้เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว วิตามินซี มีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ ซึ่งอาการแพ้เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของโรคไซนัส นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า วิตามินซี ช่วยป้องกันและทำให้อาการหอบหืดดีขึ้น

แหล่งวิตามินในธรรมชาติ จำนวน และปริมาณสารอาหารที่ได้รับ

แหล่ง วิตามินซี มีมากในผักตระกูลกะหล่ำ การเก็บเกี่ยวผักผลไม้ตั้งแต่ยังไม่แก่จัด ไม่สุกดี หรือนำไปผ่านการแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง หมักดอง จะทำลายวิตามินซีที่อยู่ในอาหารไปในปริมาณมาก แต่เนื่องจากความร้อนสามารถทำลายวิตามินซีได้ง่าย จึงไม่ควรต้มหรือผัดนานเกินไป แต่การแช่เย็นไม่ได้ทำให้ผักผลไม้สูญเสียวิตามินซี โดยร่างกายของผู้ใหญ่ต้องการวิตามินซี 250-500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

แหล่งวิตามิน
ในธรรมชาติ
ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
ต่อน้ำหนัก100 กรัม
ฝรั่ง 230 มิลลิกรัม
สับปะรด 20-30 มิลลิกรัม
กะหล่ำดอก 49 มิลลิกรัม
บรอกโคลี 84 มิลลิกรัม
น้ำมะนาว 1 แก้ว 34 มิลลิกรัม
มันฝรั่ง 21.3 มิลลิกรัม
กะหล่ำปลี 49 มิลลิกรัม
กล้วยชนิดต่างๆ 1 ลูก 8.5 มิลลิกรัม
พริกหวาน 1 เม็ด 100-120 มิลลิกรัม
ผักโขม 76.5 มิลลิกรัม
สตรอว์เบอร์รี่ 77 มิลลิกรัม
มะเขือเทศ 21.3 มิลลิกรัม
มะละกอ 60 มิลลิกรัม

 

โทษและอันตรายจากการขาดวิตามินซี

ผู้ที่ขาดวิตามินซี มักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามข้อต่อของร่างกาย เลือดออกตามไรฟัน เจ็บกระดูก แผลหายช้า

เนื่องจากวิตามินซีทำหน้าที่ต่อต้านการอักเสบและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ของร่างกาย การได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอจะทำให้เส้นเลือดในร่างกายอ่อนแอ และทำให้บาดแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายหายช้ากว่าปกติ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย

วิตามินซีมีคุณสมบัติ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือตัวต่อต้านสารก่อมะเร็งและช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และวิตามินซี ยังช่วยให้ร่างกายสามารถรีไซเคิลสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดจึงควรที่จะรับประทาน วิตามินซี ร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน ฟลาโวนอย เป็นต้น ถ้าร่างกายขาดวิตามินซี จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง และทำให้ ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่าย เป็นโรคลักปิดลักเปิด

ในกรณีของเด็กหรือผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 10 มิลลิกรัม อาจทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิดได้ หากร่างกายขาดวิตามินซีมากเกินปกติอาจทำให้มีลูกยาก เป็นโรคโลหิตจางและมีภาวะความผิดปกติทางจิตได้

อันตรายจากการได้รับวิตามินซีมากเกินไป

วิตามินซี มีผลต่อโรคเกาต์ เนื่องจากวิตามินซีมีหน้าที่ในการช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย การรับวิตามินซีในปริมาณมากจะทำให้เกิดปัญหาการสะสมธาตุเหล็กตามกระดูกข้อ ต่อต่างๆ มากขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ในที่สุด
วิตามินซี มีผลต่อ นิ่วในไต เนื่องจากการได้รับวิตามินซีมากเกินไปอาจไปรบกวนการดูดซึมของทองแดงและซีลีเนียม ซึ่งส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดนิวในไต หากได้รับวิตามินซีเกินวันละ 10,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อได้